ประวัติศาสตร์ทางการทหารของกัมพูชาว่าด้วยเรื่องของบทเรียนเกี่ยวกับความอดทนอดกลั้น และความกล้าหาญในการปกป้องความมั่นคงของชาติ
เนื่องในโอกาสครบรอบ៣០ ปีของข้อตกลงสันติภาพปารีส เราควรถือโอกาสนี้ในการเรียนรู้และตระหนักถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ทางการทหารของกัมพูชาในระดับภูมิภาคและระดับโลก ประวัติศาสตร์ของกัมพูชาได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งข้อมูลระดับชาติเกี่ยวกับการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ อิทธิพล และความเป็นผู้นำของประเทศในภูมิภาคอาเซียน
ประวัติศาสตร์การทหารนั้นนอกจากจะเป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสงครามและการวิเคราะห์ชัยชนะและความพ่ายแพ้แล้ว ประวัติศาสตร์ทางการทหารยังอธิบายถึงระบอบการปกครองไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงของประเทศต่าง ๆ รวมถึงสิ่งที่มนุษยชาติได้เรียนรู้จากความผิดพลาด และวิธีการนำความรู้นั้นไปปรับใช้
ประวัติศาสตร์ของประเทศกัมพูชาไม่ได้บทเรียนสำคัญสำหรับประเทศ แต่ยังครอบคลุมไปถึงระดับภูมิภาค และระดับโลก
กัมพูชาเป็นทางแยกสำคัญในช่วงสงครามเย็นด้วยความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์ ระบบการเมือง และวาระนโยบายต่างประเทศ ประวัติของกัมพูชาที่เป็นส่วนสำคัญต่อประวัติศาสตร์และที่มาของการแทรกแซงจากต่างประเทศในภูมิภาค ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศกัมพูชานั้นมีความสำคัญต่อความมั่นคงในภูมิภาค รวมถึงความมั่นคงของภูมิภาคที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงระดับโลก
นอกจากนี้ ความโหดร้ายของมนุษย์ สงคราม และการตัดทอนสิทธิมนุษย์ที่เป็นส่วนสำคัญและส่วนหลักของประวัติศาสตร์กัมพูชาในช่วงหลังศตวรรษที่ ២០ ได้ให้บทเรียนที่สำคัญเกี่ยวกับผลกระทบจากความไม่มั่นคงของประเทศ สงคราม และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ประวัติศาสตร์ของกัมพูชาเปรียบเสมือนเป็นภาพฉายของจิตวิญญาณมนุษย์ ในขณะเดียวกันก็เป็นภาพฉายของส่วนลึกในความเลวทรามของมนุษย์อีกด้วย
การรุกล้ำ การยึดครอง และกระทั่งการแย่งชิงอาณาเขตจากชาวกัมพูชาโดยประเทศเพื่อนบ้านเคยทำให้ประวัติศาสตร์ของกัมพูชาต้องถูกปรับเปลี่ยนและคั่นกลางมาหลายครั้ง แม้ว่าการศึกษาประวัติศาสตร์ในด้านความสัมพันธ์ ข้อพิพาท และความขัดแย้งในอดีตเหล่านี้จะไม่ใช่แนวทางหรือกิจการทางการทูตและการทหารในปัจจุบันหรืออนาคตแล้ว แต่อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์เหล่านี้ล้วนเป็นทรัพยากรของชาติและช่วยสนับสนุนภูมิปัญญาเชิงกลยุทธ์ให้กับผู้นำในการจัดการความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านและความสัมพันธ์กับโลกได้ดียิ่งขึ้น
ประวัติศาสตร์ของกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ทางการทหาร เป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญในการพัฒนาภูมิปัญญาเชิงยุทธศาสตร์สำหรับผู้นำของประเทศ ผู้นำภูมิภาค และผู้นำโลก ประวัติศาสตร์ทางการทหารของกัมพูชาเต็มไปด้วยบทเรียนเกี่ยวกับวิธีการและเวลาที่ต้องฝึกความอดทนอดกลั้น เมื่อใดควรใช้ความอดทน และเมื่อใดควรใช้ความกล้าหาญในการปกป้องความมั่นคงของชาติ ผู้นำทหารกัมพูชาควรมองประวัติศาสตร์การทหารของกัมพูชาให้เป็นแหล่งทรัพยากรของชาติในการสร้างภูมิปัญญาเชิงกลยุทธ์ของตนเอง รวมไปถึงความเป็นมืออาชีพของคณะทหารและพลทหารในยศต่าง ๆ
ความมั่นคงของชาติกัมพูชาขึ้นอยู่กับความเป็นมืออาชีพของคณะทหาร แน่นอนว่าคณะทหารมืออาชีพต้องการผู้นำที่มีความสามารถ ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นนักยุทธศาสตร์เท่านั้น แต่ยังต้องเป็นนักประวัติศาสตร์อีกด้วย เพราะหากปราศจากความเข้าใจในประวัติศาสตร์แล้ว ก็ไร้กลยุทธ์ที่จะประสบความสำเร็จในการพัฒนาได้ทางการทหารได้
ประวัติศาสตร์เป็นตัวกำหนดองค์ประกอบหลักของกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ ประวัติศาสตร์ทางการทหารเป็นทรัพยากรที่ทำให้มั่นใจได้ว่านอกจากสภาพแวดล้อมการปฏิบัติการ ยุทธวิธี และหลักการในปัจจุบันที่ล้วนมีผลต่อกลยุทธ์แล้ว ความสำเร็จและความผิดพลาดในอดีตก็มีผลต่อกลยุทธ์ที่ใช้ในปัจจุบันอีกด้วย ประวัติศาสตร์สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกได้ว่าวัตถุประสงค์ของกลยุทธ์เป็นที่ยอมรับหรือไม่ วิธีการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้นเป็นไปได้หรือไม่ และผู้ที่เคยใช้กลยุทธ์เดียวกันหรือต่างกันในอดีตนั้นเป็นอย่างไร ประวัติศาสตร์การทหารถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์ทางทหารและความมั่นคงของชาติ
ประเทศสมาชิกและความเป็นผู้นำร่วมของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ยังต้องการผู้นำที่นอกจากจะเป็นนักประวัติศาสตร์ ยังต้องเป็นนักยุทธศาสตร์อีกด้วย ประวัติศาสตร์ทางการทหารของกัมพูชามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เนื่องจากเรื่องราวของการสู้รบ การดิ้นรน และยุทธศาสตร์ทางภูมิรัฐศาสตร์จำนวนมากล้วนมีศูนย์กลางอยู่ที่ประวัติศาสตร์การทหารของกัมพูชา
กัมพูชาเป็นศูนย์กลางที่สำคัญระหว่างสงคราม ความขัดแย้ง และการดิ้นรน เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาสำคัญของกัมพูชาในสมัยศตวรรษที่ ២០ หลังสงครามอินโดจีนครั้งที่ ១กัมพูชาได้รับเอกราช และระหว่างสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง กัมพูชาได้ถูกทิ้งระเบิดทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก จึงทำให้ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์การเมืองของกัมพูชาในช่วงสงครามอินโดจีนครั้งที่สองกลายเป็นสนามรบที่สำคัญของหลายฝ่าย
ในช่วงปี พ.ศ. ២៥១៨-២៥២២ ชาวกัมพูชาประสบโศกนาฏกรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ภายใต้ระบอบเขมรแดง และแม้ว่าเขมรแดงจะถูกโค่นอำนาจในปี ២៥២២ แต่กัมพูชายังคงต่อสู้กับสงคราม การกันดารอาหาร และวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต การพลัดถิ่น หรือการตั้งถิ่นฐานใหม่ของชาวกัมพูชาหลายล้านคน ความพ่ายแพ้ของเขมรแดงไม่ได้เป็นเพียงแค่ชัยชนะทางยุทธศาสตร์สำหรับกัมพูชาเท่านั้น แต่ยังเป็นชัยชนะเชิงกลยุทธ์ของประเทศอาเซียนและของโลกอีกด้วย
การปะทะ การซ้อมรบ และยุทธศาสตร์ทางทหารที่เกิดขึ้นในกัมพูชาระหว่างปี ២៥២២ ถึง ២៥៣៦ ได้แผ่ขยายไปทั่วภูมิภาค และบางส่วนของกองกำลังเหล่านี้ได้กำหนดภูมิรัฐศาสตร์ของอาเซียนในปัจจุบันอีกด้วย ประวัติศาสตร์ทางการทหารของกัมพูชาไม่เพียงแต่เป็นประวัติศาสตร์ของการสู้รบและการซ้อมรบทางทหารเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกลยุทธ์การตัดสินใจทางการเมืองที่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงที่สำคัญต่อความมั่นคงของชาติและยุทธศาสตร์อาเซียนโดยรวมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบันอีกด้วย
เนื่องในโอกาสครบรอบ ៣០ ปีของข้อตกลงสันติภาพปารีส เราควรถือโอกาสนี้ในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าว และวิเคราะห์สิ่งที่เราได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์กัมพูชา และตอนนี้ประวัติศาสตร์กัมพูชาจะได้รับความยิ่งใหญ่อีกครั้ง เนื่องจากกัมพูชากำลังเตรียมเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนในปี พ.ศ. ២៥៦៥
ในขณะที่กัมพูชากำลังเตรียมพร้อมสู่การดำรงตำแหน่งเป็นประธานอาเซียน บทบาทความเป็นผู้นำอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นนี้ถือเป็นโอกาสของประเทศกัมพูชาในการใช้ประโยชน์จากประวัติศาสตร์ในการพัฒนาความร่วมมือและความเป็นผู้นำของชาวกัมพูชาและประชาชนในประเทศอาเซียนผู้เขียน
Youk Chhang
Youk Chhang เป็นผู้อำนวยการศูนย์เอกสารของกัมพูชา และเป็นผู้นำการศึกษา การป้องกัน และการวิจัยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ในช่วง ១៨ เดือนที่ผ่านมา Youk ได้ทำการศึกษาวิจัยอย่างละเอียดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การทหารของกัมพูชาและเขตการทหารกับพลเอก Nem Sowath กระทรวงกลาโหมกัมพูชา
Samdech Pichey Sena Tea Banh รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา (ขวา) และพลเอก Nem Sowath ที่ปรึกษาพิเศษรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม (ซ้าย) ตรวจสอบแผนการสร้างอนุสาวรีย์ชนะ-ชนะของศูนย์สันติภาพอันหลงเวง เครดิต: Ly Kok-Chay
Samdech Pichey Sena Tea Banh รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา (นั่งซ้าย) และที่พลเอก Nem Sowath ที่ปรึกษาพิเศษรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม (ยืนขวา) พลโท Meas Sina (ยืนซ้าย) และ Youk Chhang (นั่ง) กำลังเยี่ยมชมเขตประวัติศาสตร์การทหารที่เสนอใกล้ศูนย์สันติภาพ Anlong Veng จังหวัด Oddar Meanchey ตามแนวชายแดนกัมพูชา – ไทย ภาพถ่ายโดย Ly Kok-Chhay วันที่ ៦ มีนาคม ២៥៦៣
Note: The author is only responsible for his original article in English, published on The Diplomat, dated October 22, 2021. First-Class Solutions Ltd. is responsible for the Thai language translation.